ข้อมูลสภาพทั่วไป

ปรับปรุงล่าสุด 9 ก.พ. 2024 08:00:52 328



สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

1. ด้านกายภาพ
       1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล (แผนที่ประกอบ)

           องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งใหญ่ ตั้งอยู่ที่ บ้านทุ่งใหญ่ หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งใหญ่  
           อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ห่างจากอำเภอกันทรลักษ์ ประมาณ 7 กิโลเมตร เนื้อที่โดยประมาณ 48.30 ตารางกิโลเมตร หรือ 30,188 ไร่ มีอาณาเขตการติดต่อ ดังนี้ 

        ทิศเหนือ ติดกับตำบลหนองหญ้าลาด,ตำบลกระแชง อ.กันทรลักษ์
  ทิศใต้ ติดกับ   ตำบลรุง,ตำบลชำ อ.กันทรลักษ์
  ทิศตะวันออก ติดกับ   ตำบลเมือง อ.กันทรลักษ์
  ทิศตะวันตก ติดกับ   ตำบลชำ,อำเภอขุนหาญ

 

แผนที่ตำบลทุ่งใหญ่

ภาพแสดงแผนที่ตำบลทุ่งใหญ่

       1.2 ลักษณะภูมิประเทศ 
  
        ภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งใหญ่มีลักษณะเป็นที่ราบ ตั้งอยู่ทางภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เป็นพื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัยประมาณ 30% เป็นพื้นที่สำหรับเกษตร 60%  และมีพื้นที่ส่วนอื่น 10
       1.3 ลักษณะภูมิอากาศ     
  
        ตำบลทุ่งใหญ่มีสภาพอากาศร้อนเกือบตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ15.8-35.4 องศา เซลเซียส ความชื้นสัมพันธ์เฉลี่ย 31.0-96.0 สภาพอากาศตำบลทุ่งใหญ่แบ่งเป็น 3 ฤดู โดยฤดูร้อนจะ เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคมและฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์
       1.4 ลักษณะของดิน 
           
ลักษณะดินโดยดินทั่วไปเป็นดินร่วนทราย และเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร เช่น ยางพารา ข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นต้น

2. สภาพทางสังคม
       2.1 การศึกษา
    สถานศึกษาในตำบลทุ่งใหญ่ มีโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจำนวน 5 แห่ง เป็นสถานศึกษาระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา จำนวน 4 แห่ง และ ระดับประถมศึกษา 1 แห่ง(ข้อมูล ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2564)

 ที่  ชื่อสถานศึกษา ที่ตั้ง ผู้อำนวยการ จำนวนนักเรียน ระดับ โทรศัพท์
1  โรงเรียนบ้านทุ่งใหญ่ม่วงฯ  บ้านทุ่งใหญ่ หมู่ที่ 17  นายวิชัย วรรณทวี 257  ประถม – มัธยม  045-924080
2  โรงเรียนบ้านโคก (อสพป.32)   บ้านโคกใหม่ หมู่ที่ 15  นางพรพรรณ บุตตะวงษ์ 283  ประถม – มัธยม  045-811259
3  โรงเรียนบ้านร่องตาซุน  บ้านร่องตาซุน หมู่ที่ 2  นายชาญ สมสะอาด 267  ประถม – มัธยม  045-660200
4  โรงเรียนบ้านประทาย  บ้านประทาย หมู่ที่ 3  นายสมศักดิ์ ประสาร 190  ประถม – มัธยม  045-660272
5  โรงเรียนบ้านกะมอล  บ้านกระมอล  หมู่ที่ 7  นายสุภิวัฒน์ เหง้าพรหมมินทร์ 84 ประถม   045-660008


ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งใหญ่ มีจำนวน 5 ศูนย์

 ที่  ชื่อสถานศึกษา ที่ตั้ง หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวนนักเรียน ระดับ โทรศัพท์
1  ศพด.บ้านโคก  โรงเรียนบ้านโคก (อสพป.32)  นางศยามล กุลเสนา    ก่อนวัยเรียน  080-1674838
2  ศพด.บ้านปะทาย  บ้านประทาย  หมู่ที่ 3  นางสาววิวัฒนา ลาพันธ์    ก่อนวัยเรียน  080-0487541
3  ศพด.บ้านทุ่งใหญ่  บ้านทุ่งใหญ่ 2 หมู่ที่ 9  นางดวงกมล วันศรี    ก่อนวัยเรียน  087-2478926
4  ศพด.บ้านร่องตาซุนห้วยไม้งาม  โรงเรียนบ้านร่องตาซุน นางมะลิวัลย์ วันศรี    ก่อนวัยเรียน  
5  ศพด.บ้านกระมอล  บ้านกระมอล  หมู่ที่ 7  นางสาวชัชนันท์ วันเจริญ   ก่อนวัยเรียน  088-130-6844

3. สาธารณสุข

 ที่  ชื่อสถานที่บริการด้านสาธารณสุข ที่ตั้ง ผู้อำนวยการ โทรศัพท์
1  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่  บ้านทุ่งใหญ่2 หมู่ที่ 9  นายบรรเทิง สุพรรณ  091-013-0152
2  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคก  บ้านโคกใหม่  หมู่ที่ 15  นายกำธร เกษมสุข  086-460-3518

4. อาชญากรรม
          องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งใหญ่ มีสถานีตำรวจชุมชน คือที่ทำการตำรวจชุมชนตำบลทุ่งใหญ่ จำนวน 1 แห่ง
     4.1 การสังคมสงเคราะห์
           องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งใหญ่ได้ดำเนินการด้านสังคมสังเคราะห์ ดังนี้
                1. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์
                2. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
5. ระบบบริการพื้นฐาน
    5.1 การคมนาคมขนส่ง (ทางบก, ทางน้ำ, ทางราง ฯ ล ฯ)
          องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งใหญ่ ติดกับถนนหมายเลข 221 เส้นทางไปเขาพระวิหาร อยู่ห่างจากอำเภอกันทรลักษ์ ประมาณ 7 กิโลเมตร ไม่มีรถโดยสารประจำทางผ่าน ประชาชนส่วนใหญ่ใช้รถส่วนตัวในการสัญจรไปมาระหว่างหมู่บ้านกับตัวอำเภอกันทรลักษ์ เนื่องจากระยะทางไม่ไกล สำหรับการเดินทางไปจังหวัดศรีสะเกษ มีรถโดยสารประจำทางระหว่างอำเภอกันทรลักษ์ ไปจังหวัดศรีสะเกษ ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร และอำเภอกันทรลักษ์ ไปจังหวัดอุบลราชธานี ระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร ซึ่งมีรถโดยสารตั้งแต่เวลา 05.00 – 18.00 น.
     5.2 การไฟฟ้า
          การขยายเขตไฟฟ้าสำหรับใช้ในครัวเรือน ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ยังไม่ครบทุกครัวเรืองเนื่องจากมีการย้ายแหล่งที่อยู่จากในหมู่บ้านไปอยู่พื้นที่ทำการเกษตร ทำให้บางครัวเรือนยังไม่มีไฟฟ้าใช้ คิดเป็นร้อยละ 0.20 ที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้  ไฟฟ้าส่องสว่างทางหรือที่สาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด  เนื่องจากพื้นที่ที่มีความต้องการให้ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างนั้นมีเป็นจำนวนมาก และองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งใหญ่มีการตั้งงบประมาณในด้านการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง แต่ต้องรอประมาณการจากการไฟฟ้าอำเภอกันทรลักษ์ ทำให้การดำเนินการล่าช้า
        ไฟฟ้าการเกษตร ยังไม่เพียงพอตามความต้องการของประชาชน เนื่องจาก ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งใหญ่มีจำนวนจำกัด ทำให้การขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการเกษตรคลอบคุลมทั่วถึง
    5.3 การประปา
    ประชาชนมีประปาใช้ยังไม่คลอบคลุมทุกหมู่บ้าน ที่ไม่มีน้ำประปาใช้ ประชาชนใช้น้ำบาดาล น้ำบ่อ ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการก่อสร้างระบบประปาให้คลอบคลุมทุกหมู่บ้าน แต่ติดขัดเรื่องงบประมาณในการดำเนินการ เพราะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการก่อสร้าง
       5.4 โทรศัพท์
        การให้บริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมในตำบลทุ่งใหญ่ มีทั้งระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบอินเตอร์เน็ต วิทยุกระจายเสียงครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยมีผู้ให้บริการประกอบด้วย บริษัท กสท. โทรมนาคม  จำกัด มหาชน บริษัท TOT จำกัด มหาชน บริษัท ทริปเปิลทีบรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) เครือข่าย โทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกบริษัท
    5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
        การให้บริการด้านไปรษณีย์หรือการขนส่งวัสดุ ครุภัณฑ์ ในตำบลทุ่งใหญ่ มีบริษัท ไปรษณีย์ ไทย จำกัด (ปณท) (Thailand Post) เคอรี่ เอ็กซ์เพรส Kerry Express Thailand ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ที่ให้บริการ ในการขนส่งวัสดุและครุภัณฑ์ต่างๆ   
6. ระบบเศรษฐกิจ

     6.1 การเกษตร
        ประชาชนตำบลทุ่งใหญ่ ร้อยละ ๘๕ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ปลูกยางพารา 
ปลูกข้าว ปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น 
      6.2 การท่องเที่ยว
        โคกหนองนาโมเดล บ้านม่วง หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งใหญ่ 
      6.3 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ 
        1. กลุ่มพัฒนาสตรี 
        2. กลุ่มเลี้ยงหมู 
        3. กลุ่มปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 
        4. กลุ่มกองทุนเงินล้าน บ้านตาซุน หมู่ที่ 8
7. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม 
     7.1 การนับถือศาสนา 
         การนับถือศาสนา ประชาชนร้อยละ 99.99 นับถือศาสนาพุทธ 
     7.2 ประเพณีและงานประจำปี
         งานประเพณีแซบโฎนตา งานบุญสารทเดือนสิบของไทยชาวเขมร เทศกาลงานบุญประเพณีเซนโฎนตาหรือประเพณีเซ่นผีปู่ตาในเดือนสิบ หรือถ้าเรียกกันแบบเต็มๆ ตามชื่อเรียกของชาวไทยเขมรว่าแซนโฎนตาแคเบ็น หมายถึง การเซ่นผีปู่ตาเดือนสิบหรืองานบุญสารทเดือนสิบ ซึ่งชาวไทยเขมรทุกที่ทั่วระแหงไม่ว่าในไทยหรือฝั่งกัมพูชาจะต้องประกอบกิจประเพณีพิธีกรรมงานบุญนี้ เพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วเป็นประจำทุกปี ปัจจุบันตำบลทุ่งใหญ่ได้มีการจัดงานประเพณีแซนโฎนตาขึ้นเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีที่ดีงามและถือเป็นวันครอบครัวอีกวันหนึ่งของคนไทยเขมร     
     7.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
         ประชาชนตำบลทุ่งใหญ่มีความเชื่อพิธีกรรมรำแม่มด หรือ เรือมมม็วด เป็นพิธีกรรมของคนเชื้อสายเขมร โดยมีความเชื่อว่าบรรพบุรุษที่ตายไปแล้ววิญญาณยังคงวนเวียนอยู่ เพื่อคอยช่วยเหลือลูกหลาน และหากลูกหลานคนใดประพฤติผิดจารีตประเพณี หรือทำไม่ดี ก็จะได้รับการลงโทษจากบรรพบุรุษให้ได้รับความเดือดร้อน เจ็บไข้ได้ป่วย เป็นต้น เมื่อลูกหลานเจ็บป่วยจะบนบาน และหากหายก็จะแก้บนด้วยการเล่นแม่มด โดยจะประกอบพิธีในช่วงเดือน 3-4 หลังจากฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว ในพิธีจะเชิญครูมม็วด ซ็องเมิง (ผู้เป็นหลักเมือง) เชิญผู้นำชุมชน เชิญแขกมาร่วม เครื่องดนตรีที่ใช้ในการเล่น เลือกตามแต่ฐานะของเจ้าภาพ หากเป็นผู้มีฐานะดีจะเลือกวงดนตรีวงใหญ่ ประกอบด้วย กลองโทน 3 ใบ ซอด้วง 1 สาย ฆ้องขนาด 24 นิ้ว 1 ใบ กรับ 1 คู่ ขลุ่ยปีออร์(เปย) 1 เลา คนเจรียง (คนร้อง) 1-2 คน หากมีฐานะไม่ค่อยดีจะเลือกวงเล็ก ประกอบด้วย แคน 1 เต้า กรับ 1 คู่ คนเจรียง 1-2 คน โดยมากรำแม่มดจะทำเมื่อมีคนป่วยรักษาด้วยยาแผนปัจจุบันไม่หาย การรำแม่มดจึงทำเพื่อหาสาเหตุของการเจ็บป่วย และวิธีการรักษา
        ภาษาถิ่น หรือ สำเนียง คือ ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียงเป็นต้น ซึ่งภาษาถิ่นของตำบลทุ่งใหญ่ คือ ภาษาเขมร
8. ทรัพยากรธรรมชาติ
     8.1 น้ำ
         ตำบลทุ่งใหญ่มีแหล่งน้ำที่สำคัญที่ไหลผ่าน คือ ห้วยขะยุง ซึ่งไหลผ่านบ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 10 มีคลองส่งน้ำเพื่อการเกษตร บ้านกระมอล หมู่ที่ 7 และมีแหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่

     1.  หนองบัว  หมู่ที่ 5  พื้นที่ 4 ไร่
  2.  หนองแสง  หมู่ที่ 6  พื้นที่ 0.38 ไร่ 
  3.  หนองกระจด  หมู่ที่ 5  พื้นที่ 3.253 ไร่
  4.  หนองจอก   หมู่ที่ 3  พื้นที่ 1.38 ไร่
  5.  หนองม้า  หมู่ที่ 3  พื้นที่ 24.09 ไร่
  6.  สระน้ำหนองบก  หมู่ที่ 6  พื้นที่ 6.37 ไร่
  7.  หนองกระเบา  หมู่ที่ 3  พื้นที่ 2.03 ไร่
  8.  หนองชำใหญ่  หมู่ที่ 4  พื้นที่ 15.1 ไร่

    8.2 ป่าไม้
        ลักษณะป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าโปร่ง ประกอบด้วย ป่ายาง ไม้เต็ง ไม้ประดู่ ไม้แดง  ไม้กระบากและไม้เป็นเบญจพรรณ 
     8.3 ทรัพยากรธรรมชาติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  

     1.  ลำน้ำ/ลำห้วย  จำนวน  3  แห่ง 
  2.  บึง/หนองและอื่นๆ  จำนวน  12  แห่ง 
  3.  ฝาย  จำนวน  2  แห่ง 
  4.  บ่อน้ำตื้น  จำนวน  229  แห่ง 
  5.  บ่อบาดาล  จำนวน  130  แห่ง 
Choose Your Color
Purchase now $17
You will find much more options for colors and styling in admin panel. This color picker is used only for demonstation purposes.
TOP